วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

pear คืออะไร pear มีประโยชน์อย่างไร

pear คืออะไร pear มีประโยชน์อย่างไร pear ติดตั้งอย่างไร จะได้รู้ทั้งหมด ในบทความนี้ครับ

pear หรือที่ย่อมาจาก PHP Extension and Application Repository ซึ่งถ้าอธิบายง่ายๆในภาษาไทย มันคือ ชุดคำสั่ง ที่คล้ายกับ class สำเร็จรูป ของ php ให้เราสามารถเรียกใช้งานได้ ซึ่งคนอื่นเค้าเขียนไว้ให้เราใช้ได้ง่ายๆ โดยปกติแล้ว จะไม่มีใน php โดยทั่วไป เพราะว่ามันไม่ใช่ main option ของ PHP เราจำเป็นต้องติดตั้งเข้าไปเองต่างหาก ตามที่เราต้องการ เราถึงจะเรียกใช้ได้

โดยปกติ หากเป็นเครื่องจำลองที่เราใช้ทดสอบเว็บในเครื่องตัวเอง หากเป็น wamp ก็ไม่ได้ติดมาด้วย เราต้องลง pear ก่อน แล้วค่อยไปเลือกว่าจะใช้ pear ตัวไหน (เพราะมันมีหลายตัว และทำงานต่างหน้าที่กัน) ก็ค่อยเอามาติดตั้งลงไปอีกที


ตัวอย่างของ pear ที่น่าจะรู้จักกันก็คือ PHPDoc หรือ PHPDocuments หน้าที่ของมันก็คือ เวลาที่เราเขียนโค้ด เราก็มักจะ comment ตามปกติในตัวโค้ด หรือการประกาศตัวแปรอยู่แล้ว แต่หากเราติดตั้ง pear ตัวนี้เอาไว้ แล้วเวลาเราเขียน comment ก็เขียนตามที่ PHPDocuments กำหนด เมื่อproject เราจบแล้ว(หรือระหว่างทาง) เราสามารถสั่งรัน pear PHPDocument เพื่อดึงเอา comment เหล่านั้นออกมาแสดงเป็น API document ในรูปแบบหน้าเว็บ HTML ได้เลย ซึ่งจะบอกละเอียดเลย ว่า function นี้ อยู่ไฟล์ไหน บรรทัดที่เท่าไรรับตัวแปรแบบไหน ส่งค่าตัวแปรแบบไหน ในรูปแบบ HTML แบ่งตามหน้า และไฟล์ หรือตามที่เรากำหนดได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่งเดียวเท่านั้นเอง เรียกได้ว่าเมื่อทำ project เสร็จ ก็รัน command ทีเดียว ย่นเวลาการเขียน API ทั้งหมดออกไปได้เลยทันที!

นอกจากนี้ ยังมี pear ที่ทำหน้าที่อื่นๆ เช่น ตรวจสอบว่า code ที่เราเขียนเข้าหลักการ code standard หรือเปล่า ง่ายต่อการอ่านหรือเปล่า หรือว่าตรวจสอบว่าทั้ง project ของเรามีโค้ดตรงไหนที่เขียนซ้ำกันอยู่บ้างเป็นต้น หรือตรวจสอบ ประเมินจุดที่น่าจะเปิด bug เช็คประสิทธิภาพการทำงานของโค้ด และอื่นๆอีกมากมาย

เอาล่ะ โม้ไว้เยอะ เรามาเริ่มติดตั้ง pear กันก่อนดีกว่าครับ
ระบบที่ผมใช้ ติดตั้ง wamp ไว้ที่ E:\wamp , ซึ่ง phpเก็บอยู่ที่ E:\wamp\bin\php\php5.2.9-2 โดยใครที่ไม่ได้ใช้ wamp ก็เพียงแต่หาให้เจอว่า php path เก็บที่ไหนก็พอครับ

เปิด Command ขึ้นมาก่อน โดยกดปุ่ม start >> พิมพ์ cmd แล้วกด enter




จากนั้นก็เข้าไป path ที่เก็บ PHP ของเรา โดยพิมพ์ E: แล้วกด enter *สำหรับคนที่เก็บ wamp ไว้ที่ C:\wamp ไม่ต้องพิมพ์นะครับ

เมื่อเข้ามาที่ drive ที่เก็บ wamp แล้ว(ปกติเก็บที่ drive C ดังนั้น คนที่เก็บ drive นี้จึงไม่ต้องพิมพ์เพื่อเข้า drive ก่อน) ก็ให้พิมพ์คำสั่งเพื่อเข้าไปเปิดแฟ้มที่เก็บ PHP โดยเครื่องท่านลง version อะไรไว้ให้เปิดเช็ค และพิมพ์ path ให้ตรงด้วยนะครับ โดยใช้คำสั่ง cd เข้าไป จะเห็นว่า path ที่เก็บ อยู่ในเครื่องหมาย ""




ให้รันคำสั่ง php -d phar.require_hash=0 PEAR/go-pear.phar

แล้วมันจะถามอะไรเรา เราก็กด enter ใส่ไปเลยครับ ถ้าถาม Y/n ก็ใส่ Y แล้วกด enter ผ่านๆไปเลย เมื่อจบแล้ว เราจะได้




แต่ยังไม่จบ ให้เปิดแฟ้ม ที่เก็บ PHP อย่างของผมคือ E:\wamp\bin\php\php5.2.9-2 จะพบกับไฟล์ PEAR_ENV.reg ก็ให้ double click เพื่อติดตั้งเข้าไปเลย

จบแล้วครับ นอนหลับฝันดี 555

แต่ถ้าใครไม่มั่นใจเลย ว่านี่เราติดตั้งแล้วเหรอนี่ ให้พิมพ์คำสั่ง pear version ก็จะได้ (ถ้าตัวเลขต่างกันไม่ต้องตกใจนะ ตามการณ์เวลาที่เปลี่ยนแปลงไปครับ)




เดี๋ยวเราจะมาหาประโยชน์จาก pear กันในบทความต่อๆไปครับเพื่อการ coding แบบล้ำๆ(กว่าคนอื่น 555)

ไม่มีความคิดเห็น:

RSS by ThaiFreelanceBid.com